แชร์

สกสว. ขานรับนโยบายกระทรวง อว. ร่วมขับเคลื่อนประเทศ เสริมศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ หนุนงานวิจัย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567

อัพเดทล่าสุด: 24 พ.ย. 2024


กระทรวงการอุดมศึกษา ฯ ได้เปิดตัวแผนพัฒนากำลังคนภายใต้แนวคิด บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความสำเร็จ เพื่อมุ่งให้ไทยเป็นผู้นำด้านการเสริมศักยภาพบุคลากรยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการภาคอุตสาหกรรมและบริการ ดังนั้นในการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดขึ้นในครั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้ร่วมงานทุกท่านมาร่วมกันขับเคลื่อนตามแนวทางการประชุม คือ จุดประกายนักวิจัยรุ่นใหม่ สู่เครือข่ายความร่วมมือเพื่ออนาคตชาติ เพื่อช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.กล่าว


ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. เปิดเผยว่า สกสว. ได้ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( กสว.)โดยร่วมกันสร้าง ระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรม ที่เข้มแข็ง เน้นการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ไปพร้อมกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่กับนักวิจัยอาวุโส

ในการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567 ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร บุคลากรในระบบกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม และเหล่านักวิจัย เข้าร่วมมากกว่า 1,100 คน จาก 190 หน่วยงาน มีจุดประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1. สร้างระบบเครือข่ายนักวิจัยที่อยู่ในระบบวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ได้มาทำงานร่วมกัน 2. ให้นักวิจัยในระบบดังกล่าวได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้งานวิจัย และนวัตกรรมของตน เพื่อการต่อยอดหรือสร้างมุมมองใหม่ต่อไป และ 3. เพื่อก่อเกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของนักวิจัยในแบบใหม่ในลักษณะไร้รอยต่อ กล่าวคือ นักวิจัยที่มาจากหลากหลายภาคส่วนสามารถผสมผสานงานวิจัยระหว่างกันจนก่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ให้การทำงานต่อประเทศอย่างรวดเร็ว

ศ. ดร.สมปอง กล่าวต่อว่า คาดว่าภายหลังจากการประชุมครั้งนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดคือ การทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยอาวุโส เกิดเครือข่ายนักวิจัยที่มุ่งทำงานเพื่อพัฒนาประเทศ เช่น การขจัดปัญหา PM 2.5 การขจัดปัญหาสุขภาพ อาทิ ขจัดโรคใบไม้ในตับ หรือ การใช้ AI ช่วยในงานสาธารณสุข และการเปิดช่องทางให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีโอกาสพัฒนาตนเองไปสู่นักวิจัยงานระดับประเทศ ภายใต้การขับเคลื่อนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ช่วยสนับสนุนเงินทุน เวลา สถานที่ และนโยบายระบบวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนวัตกรรม จัดได้ว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างงานใหม่ สร้างอาชีพใหม่ โดยการผลิตบุคลากรที่อยู่ในระบบนี้จะมีทักษะในการประกอบอาชีพและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการผลิตและพัฒนากำลังคนใน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ กระทรวง อว. ได้แก่ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการแพทย์ชั้นสูง เป็นการสร้างบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมดังกล่าว ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม และจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก สร้างโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ศ.ดร.สมปอง กล่าวสรุป


บทความที่เกี่ยวข้อง
ม.เกริก จัดประชุมวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ฯ ครั้งที่ 20 ระดมสมองสร้างคน สร้างชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ม.เกริก ตอกย้ำปรัชญาความรู้คู่คุณธรรม จัดประชุมวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ครั้งที่ 20 มุ่งประสานแนวร่วมทั้งระดับชุมชนและระดับนานาชาติ บูรณาการองค์ความรู้ หนุนบุคลากรที่มีจริยธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ นำไปใช้ได้พัฒนาชุมชนจนถึงระดับประเทศได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
16 ธ.ค. 2024
นักศึกษา ปรม. รุ่น 23 ร่วมมือชุมชนพัฒนาธุรกิจ พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ  ผลิตข้าวเกรียบใจบุญ ลดเหลื่อมล้ำสร้างรายได้ให้ชุมชน
นักศึกษาโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติการของหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 23 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2567 พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ แปรรูปสินค้าสู่ข้าวเกรียบใจบุญ ต่อยอดธุรกิจร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก จ.สมุทรสงคราม หวังสร้างรายได้ให้ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
7 ต.ค. 2024
วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก จัดประชุมวิชาการนานาชาติ แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างวัฒนธรรมมุ่งรวมความหลากหลายให้เป็นหนึ่ง
วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ โดย สำนักงานการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกับ สถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี สมาพันธ์ศิษย์เก่าอัล-อัซฮัรโลก สาขาประเทศไทย ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมมหาวิทยาลัยมุสลิมแห่งเอเชีย ร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 2 หัวข้อ "การอยู่ร่วมกันของชนกลุ่มน้อยมุสลิมในกลุ่มประเทศ Non-Muslim States ในเอเชีย: เอกภาพ สันติภาพ การเคารพ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน" ณ มหาวิทยาลัยเกริก
13 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy