แชร์

ม.เกริก เปิดตัว วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ มุ่งเป็น สถาบันการศึกษาชั้นนำของเอเชียด้านการบินและอวกาศ ตามแนว “Education for Innovation and Global Collaboration” หรือ "การศึกษาสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและความร่วมมือระดับโลก" พร้อมส่งเสริมอุตสาหก

อัพเดทล่าสุด: 20 ก.พ. 2025
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ ภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกริก พร้อมพุ่งเป้าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของเอเชียด้านการบินและอวกาศ และเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต (New S-Curve) พร้อมกันนี้ยังให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการทุนการศึกษา ทุนวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุมนานาชาติ อาคาร 2 มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพฯ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวว่า การที่ทาง มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ นับเป็นโอกาสที่ดีและสำคัญยิ่ง ในการมองการณ์ไกลและได้ต่อยอดความสำคัญของการศึกษาและความมุ่งมั่นในการสร้างโอกาสให้กับเยาวชนได้ก้าวเข้าสู่โลกของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลและเชื่อว่า วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ ไม่ใช่เพียงสถานศึกษาทั่วไป แต่จะยังเป็น ศูนย์กลางของความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการบินและอวกาศ ที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก อันจะเป็นกุญแจสู่อนาคตที่ยั่งยืนพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกทีกำลังก้าวเข้าสู่ยุค ปัญญาประดิษฐ์ (AI), เทคโนโลยีอวกาศ, บิ๊กดาต้า (Big Data) และอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งประเทศไทยเรามีความจำเป็นต้อง พัฒนากำลังคนให้สอดรับกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในอนาคตต่อไป

การเปิด วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ นี้จึงเป็นโอกาสทางการศึกษาที่ดีของเยาวชนไทย ไม่ว่าจะการเป็นนักบิน เป็นวิศวกรอากาศยาน เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลการบิน ไปจนถึงการเป็นนักวิจัยด้านอวกาศ ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญอย่างมากในการรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมนี้ ทั้งในการขยายตัวของอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศและโลจิสติกส์จนไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมและระบบนำทางการบิน

และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญในครั้งนี้ คือ การเปิดตัวโครงการ ทุนวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งเป็นทุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนที่มีศักยภาพ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถได้ศึกษาในระดับสูงโดยไม่มีข้อจำกัดทางเศรษฐฐานะเพื่อส่งเสริมการพัฒนา บุคลากรด้านการบินและอวกาศของประเทศไทย จึงเป็นอึกหนึ่งโอกาสทางการศึกษาที่จะต่อยอดในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันสู่ตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพียงแต่ผู้ได้รับทุนต้องมีความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการศึกษา และรู้จักใช้โอกาสที่ได้รับทุนนี้ให้เกิดประโยชน์ในการเป็นกำลังสำคัญเพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติต่อไป และพึงระลึกไว้ว่า การที่คุณได้ทุนในครั้งนี้ หมายความว่าคุณมีโอกาสที่คนอื่นอาจไม่มี

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า การก่อตั้ง วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ แห่งนี้ เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์และความตั้งใจของมหาวิทยาลัยเกริกในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการบินและอวกาศ ให้สอดรับกับมาตรฐานสากลและความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคตและโอกาสสำคัญเดียวกันนี้นี้ มหาวิทยาลัยเกริก ยังได้เปิดตัว ทุนวันมูหะมัดนอร์ มะทา เพื่อสานต่อปณิธานของมหาวิทยาลัยเกริก อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติและเชิดชูคุณงามความดีของท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา ด้วยความยินดียิ่ง เพราะท่านเป็นบุคคลสำคัญที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาและการพัฒนาสังคมมาโดยตลอด โดย ทุนวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นทุนการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย โดยเฉพาะในสาขาการบินและอวกาศ เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพให้กับประเทศ และสร้างความก้าวหน้าให้กับอุตสาหกรรมการบินระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริกเชื่อมั่นว่า การจัดตั้ง วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ และ ทุนการศึกษา ทุนวันมูหะมัดนอร์ มะทา จะเป็นพลังสำคัญในการร่วมพัฒนาอนาคตของเยาวชนไทย และสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในประเทศไทย

ดร. อำพล ขำวิลัย คณะบดีวิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นด้วยเจตนารมณ์ในการผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับโลก เราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ การฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานสากล และความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาของเราจะได้รับการเตรียมความพร้อมที่ดีที่สุดสำหรับตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูงวิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศได้พัฒนายกฐานะจากหลักสูตรการจัดการธุรกิจการบิน ภายใต้การดำเนินงานของคณะบริหารธุรกิจ และเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต (New S-Curve) และเล็งเห็นว่าปัจจุบันวิทยาลัยนานาชาติการบินและอวกาศมีฐานนักศึกษาเดิมจากคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน รวมจำนวนกว่า 200 คน และเมื่อดำเนินการจัดตั้งก็มีความพร้อมที่จะรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรด้านการบินและอวกาศ ด้านนวัตกรรม ด้านโลจิสติกส์ ด้านเทคโนโลยี ดิจิทัลและสังคม และพร้อมเดินหน้าตามวิสัยทัศน์และพันธกิจ ในการที่จะเป็นผู้นำระดับนานาชาติด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรมในสาขาการบินและอวกาศ โลจิสติกส์ นวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัลและสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับสากลได้ต่อไป

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
BEDO  จับมือ 2 สถาบัน  เดินหน้าขับเคลื่อนแผนแม่บท พัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระแสใหม่อย่างยั่งยืน  จ.ประจวบฯ
BEDO ม.บูรพา ม.สวนสุนันทา จับมือสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวกระแสใหม่ ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีเขียวอย่างยั่งยืน นำร่อง 3 อำเภอ ใน จังหวัดประจวบฯคีรีขันธ์ เพิ่มขีดความสามารถด้านท่องเที่ยวให้ชุมชนควบคู่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้แท้จริง
18 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy