แชร์

วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก จัดประชุมวิชาการนานาชาติ แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างวัฒนธรรมมุ่งรวมความหลากหลายให้เป็นหนึ่ง

อัพเดทล่าสุด: 13 ก.ย. 2024

โดยได้รับเกียรติจากท่านเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ประจำประเทศไทย ฮาละฮ์ ยูซุฟ อะห์มัด เราะญับ (H.E. Mrs. Hala Youssef Ahmed Ragab) เป็นประธานในการเปิดการประชุม โดยมี ผู้แทนระดับสูงจากสถานเอกอัครราชทูตปากีสถาน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กาตาร์ อิหร่าน และญี่ปุ่น ตลอดจนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศกว่า 20 สถาบัน รวมกว่า 200 คนเข้าร่วมงานดังกล่าว


ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาราชมนตรี ได้กล่าวปาฐกถานำพร้อมทั้ง กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม ฯ ในครั้งนี้มี 2 ประการ คือ รวบรวมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ มานำเสนอบทความ ผลงานทางวิชาการเรื่องการอยู่ร่วมกันของมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยในอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บรูไน สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นต้น ว่าการดำรงอยู่ของพี่น้องมุสลิมที่เป็นส่วนน้อยในประเทศต่าง ๆ ดำรงอยู่กันอย่างไร อีกทั้งระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ทำความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของแต่ละประเทศ ซึ่งบทความ ข้อคิดเห็นที่นำมาประชุมในระดับนานาชาติครั้งนี้จะมีคุณค่าเพื่อการตีพิมพ์สู่สาธารณชนต่อไป

อีกประการที่สำคัญ คือ ได้เผยแพร่ภาพการให้ความสำคัญต่อประชากรมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อย ผ่านการประชุมระดับนานาชาติ โดยวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ม.เกริก เราได้เห็นความร่วมมือของพี่น้องมุสลิมจากหลากหลายประเทศ รวมถึงผู้แทนจากสถานทูตสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน รัฐกาตาร์ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ให้เกียรติมาร่วมในพิธีเปิดวันนี้ เพื่อแสวงหาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural Society) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันทางด้านภาษา การแต่งกาย ศาสนา สังคม ประเพณี วัฒนธรรม ว่าการอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมในเชิงบวก โดยเฉพาะในอุษาคเนย์จะกระทำได้อย่างไร มีประโยชน์มากมายเพียงใด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดุลเลาะ กล่าว


ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางการศึกษา ขยายขอบเขตการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ให้นักศึกษาเพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งมีความตั้งใจสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างประเทศที่มีความแตกต่างทางด้านภาษา ศาสนา วัฒนธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในสังคมที่มีความหลากหลายและพร้อมจะอยู่ร่วมกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ม.เกริก ในปี พ.ศ.2564 เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรในด้านต่าง ๆ เช่น วัฒนธรรม การเงินอิสลาม การเมือง และการศึกษาอิสลาม

ล่าสุด มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนการสนทนาระดับนานาชาติ จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 ผ่านการขับเคลื่อนของวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ภายใต้หัวข้อการอยู่ร่วมกันของชนกลุ่มน้อยมุสลิมของกลุ่ม Non-Muslim States ในเอเชีย เอกภาพ สันติภาพ การเคารพ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยได้เชิญคณะนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของพลังนักวิชาการจากเอเชียที่จะส่งเสริมความเข้าใจระหว่างความหลากหลายทางวัฒนธรรม

นับเป็นอีกก้าวสำคัญของ ม.เกริก ในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนมุมมองให้ครอบคลุมหลายมิติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นความพยายามที่จะนำความร่มเย็นสู่สังคมอีกทางหนึ่ง อธิการบดี ม.เกริก กล่าว
ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า การจัดประชุมระดับวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 นี้ นับเป็นหนึ่งในความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ม.เกริก เพื่อขยายขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น และได้รับความสนใจจากนักวิชาการหลากหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาชิกจากสมาคมมหาวิทยาลัยมุสลิมเอเชียซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 80 มหาวิทยาลัย สื่อมวลชน และที่สำคัญคือเอกอัครราชทูตดังที่ผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาราชมนตรีได้นำเรียนข้างต้น ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น บทความทางวิชาการระหว่างกันถึงการอยู่ร่วมกันของชนกลุ่มน้อยในประเทศมุสลิม มาเข้าร่วมกว่า 300 ท่าน


ปัจจุบัน ม.เกริก มีนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมากกว่า 5,000 คน นักศึกษามุสลิมไม่ต่ำกว่า 300 คน และเริ่มมีนักศึกษาจากประเทศทางแถบแอฟริกา เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย สาธารณรัฐยูกันดา อีกทั้งจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเนปาล และอื่น ๆ เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย เราจึงต้องการขยายขอบเขตการศึกษา โดยเน้นหนักในหัวข้อของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย แสวงหาความรู้ร่วมกัน เกิดความเข้าใจ มีความสุข และก่อเกิดสันติภาพไปพร้อมกันให้กับเยาวชนไทยและเยาวชนที่มาจากประเทศอื่น ศ.ดร.จรัญ กล่าว


คณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ม.เกริก กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มีหลักการพื้นฐานการเรียนการบริหารธุรกิจอิสลาม เช่น การเงินอิสลาม การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ สินค้าฮาลาล ที่ทำรายได้ในแต่ละปีให้ประเทศไทยนับแสนล้านบาท อีกทั้งปัจจุบันมีธนาคารอิสลามอยู่ทั่วโลก ผลิตนักวิชาการเพื่อรองรับความหลากหลายนี้ เพื่อจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าในการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างโลกอิสลามกับประเทศไทยในที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง
ม.เกริก จัดประชุมวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ฯ ครั้งที่ 20 ระดมสมองสร้างคน สร้างชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ม.เกริก ตอกย้ำปรัชญาความรู้คู่คุณธรรม จัดประชุมวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ครั้งที่ 20 มุ่งประสานแนวร่วมทั้งระดับชุมชนและระดับนานาชาติ บูรณาการองค์ความรู้ หนุนบุคลากรที่มีจริยธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ นำไปใช้ได้พัฒนาชุมชนจนถึงระดับประเทศได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
16 ธ.ค. 2024
สกสว. ขานรับนโยบายกระทรวง อว.  ร่วมขับเคลื่อนประเทศ  เสริมศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ หนุนงานวิจัย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การเป็นสังคมฐานนวัตกรรม หลายภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการต้องอาศัยนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต การวิจัยจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความก้าวหน้า ดังนั้นกระทรวง อว. จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนากำลังคนทักษะสูงโดยเฉพาะในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) รวมถึงด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน
24 พ.ย. 2024
นักศึกษา ปรม. รุ่น 23 ร่วมมือชุมชนพัฒนาธุรกิจ พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ  ผลิตข้าวเกรียบใจบุญ ลดเหลื่อมล้ำสร้างรายได้ให้ชุมชน
นักศึกษาโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติการของหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 23 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2567 พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ แปรรูปสินค้าสู่ข้าวเกรียบใจบุญ ต่อยอดธุรกิจร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก จ.สมุทรสงคราม หวังสร้างรายได้ให้ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
7 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy