แชร์

ม.เกริก จัดพิธีประสาทปริญญา​บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2563-2566

อัพเดทล่าสุด: 12 ก.พ. 2024

     ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ สูตะบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยเกริก เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยเกริก ประจำปีการศึกษา 2563-2566 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์แกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

 

 ม.เกริก จัดพิธีประสาทปริญญา​บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2563-2566

 

     ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ สูตะบุตร กล่าวว่า ขอแสดงความชื่นชมกับผู้สำเร็จการศึกษาทุกท่าน ในความพากเพียรอุตสาหะและประสบความสำเร็จ นำไปสู่การเป็นดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิต อย่างเต็มความภาคภูมิ ความสำเร็จในวันนี้นับได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจในชีวิตของทุกท่าน เป็นการสร้างเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล และเป็นความภาคภูมิใจของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกริกที่ได้ประสิทธิประสาทวิชา ความรู้ ส่งผลให้ท่านทั้งหลายสำเร็จการศึกษาอย่างสมเกียรติ

     "ขอให้ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตทุกท่าน นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และคุณภาพอย่างสูงสุด พร้อมทั้งประพฤติตนให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอยู่เสมอ นอกจากนั้นแล้ว ท่านต้องยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณไตร่ตรองด้วยเหตุผล ประกอบสัมมาชีพด้วยความรับผิดชอบและซื่อสัตย์สุจริต ขออวยพรให้ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตทุกท่าน ประสบความสุข ความสำเร็จ มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติให้เจริญมั่นคงสถาพรต่อไป" นายกสภามหาวิทยาลัยเกริก กล่าว

 

 

     ด้าน ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า " มหาวิทยาลัยเกริก" เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกลุ่มแรกของประเทศไทย ดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาอย่างครบถ้วน ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านการผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยฯพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย พัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตน ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ มีความสำนึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลกด้านการวิจัย ส่งเสริมสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษา ให้ดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมถึงการวิจัยชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มหาวิทยาลัยเกริกได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยตระหนักในการให้บริการวิชาการที่ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการและสังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย จีน และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

     มหาวิทยาลัยเกริกได้รับการยอมรับจากสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยเกริกได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันอุดมศึกษาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวนมาก นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงในประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อดำเนินการเรียนการสอนและพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยตระหนักในการพัฒนาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกริก ให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพรับใช้บ้านเมืองและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีการศึกษา 2563-2566 มหาวิทยาลัยเกริก มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี จำนวนหลายพันคน

     ทั้งนี้ "มหาวิทยาลัยเกริกมีแนวทางในการส่งเสริมและต่อยอดทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่นอกจากส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมแล้วเรายังสร้างสถาบันเสริมความรู้ ได้แก่ 1) Thai China Asean 2) Diester Management 3) Leadership Development การสร้างความร่วมมือ MOU และเครือข่ายด้านธุรกิจการบริหารและสถานบริการทั้งราชการและเอกชน ทำให้บัณฑิตมีความมั่นใจ รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน ที่เรามีทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวไทยมุสลิม และนักศึกษานานาชาติ เน้นให้เห็นว่าเขาโชคดีได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อที่จะช่วยด้านงานในอนาคตได้มาก" อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก กล่าว


บทความที่เกี่ยวข้อง
ม.เกริก จัดประชุมวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ฯ ครั้งที่ 20 ระดมสมองสร้างคน สร้างชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ม.เกริก ตอกย้ำปรัชญาความรู้คู่คุณธรรม จัดประชุมวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ครั้งที่ 20 มุ่งประสานแนวร่วมทั้งระดับชุมชนและระดับนานาชาติ บูรณาการองค์ความรู้ หนุนบุคลากรที่มีจริยธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ นำไปใช้ได้พัฒนาชุมชนจนถึงระดับประเทศได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
16 ธ.ค. 2024
สกสว. ขานรับนโยบายกระทรวง อว.  ร่วมขับเคลื่อนประเทศ  เสริมศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ หนุนงานวิจัย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2567
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การเป็นสังคมฐานนวัตกรรม หลายภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการต้องอาศัยนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต การวิจัยจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความก้าวหน้า ดังนั้นกระทรวง อว. จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนากำลังคนทักษะสูงโดยเฉพาะในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) รวมถึงด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน
24 พ.ย. 2024
นักศึกษา ปรม. รุ่น 23 ร่วมมือชุมชนพัฒนาธุรกิจ พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ  ผลิตข้าวเกรียบใจบุญ ลดเหลื่อมล้ำสร้างรายได้ให้ชุมชน
นักศึกษาโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติการของหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 23 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2567 พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ แปรรูปสินค้าสู่ข้าวเกรียบใจบุญ ต่อยอดธุรกิจร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก จ.สมุทรสงคราม หวังสร้างรายได้ให้ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
7 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy